Thursday, November 15, 2007

ภาษาระดับสูง

สามารถเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นภาษารุ่นที่3(3rd Generation Languages หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษทั่วๆไปและที่สำคัญคือผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องม​ีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน(FORTRAN) โคบอล(COBOL) เบสิก (BASIC) ปาสคาล(PASCAL) ซี(C) เอดา(ADA) อย่างไรก็ตามโปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาประเภทนี้จะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อมีการแปลงให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน ซึ่งวิธีการแปลงจากภาษาชั้นสูงให้เป็นภาษาเคร​ื่องนั้น จะทำได้โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์(Compiler)หรืออินเตอร์พรีเตอร์(Interpreter)อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยภาษาชั้นสูงแต่ภาษาจะมีตัวแปลภาษาเฉพาะเป็นของตัวเอง ดังนั้นจึงไม่สามารถนำตัวแปลภาษาที่เรียกว่าโคบอลคอมไพเลอร์ไม่สามารถนำคอมไพเลอร์ของภาษาโคบอลนี้ไปใช้แปลภาษาปาสคาลได้ เป็นต้น สำหรับความแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์และอินเตอร์พรีเตอร์จะมีดังต่อไปนี้ คอมไพเลอร์(Compiler)จะทำการแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื​่องทีเดียว การแปลนี้จะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษา ถ้ามีข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษาเกิดขึ้นก็จะแจ้งให้ทราบ เรียกข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษา(Syntax Error) นี้ได้ว่าเป็น ข้อความไดแอคนอสติค(Diagnostic Message)เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมทำการแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วจึงค่อยสั่งให้แปลใหม่ โปรแกรมที่ยังไม่ผ่านการแปลจะเรียกว่า ซอร์สโปรแกรม(Source Program)หรือซอร์สโมดูล(Source module) แต่ถ้าผ่านการแปลเรียบร้อยและไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ จะเรียกโปรแกรมส่วนนี้ว่า ออปเจกต์โปรแกรม(Object Program)หรือออปเจกต์โม ดูล(Object Module) ออปเจกต์โปรแกรมนี้ยังไม่สามารถทำงานได้จะต้องผ่านการลิงค์(Link) หรือรวมเข้ากับไลบรารี่ (Library)ของระบบก่อนจึงจะเป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานได้หรือเป​็น ภาษาเครื่องทีเรียกว่าเอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรม(Execute Program)หรือโหลดโมดูล (Load Module)ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .exe หรือ.comและสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้งานได้ตลอดโดยไม่ต้องสั่งแปลใหม่อีก แต่ถ้ามีการแก้ไขโปรแกรมแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องทำการแปลใหม่หมดตั้งแต่ต้น อินเตอร์พรีเตอร์(Interpreter)เป็นตัวแปลภาษาอีกตัวหนึ่งที่จะทำการแปลโปรแกรมภาษาชั้นสูงทีละคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องและทำการเอ็กซ์วีคิวท์หรือ ทำงานคำสั่งนั้นทันทีทันใดเลยก่อนที่จะไปทำการแปลต่อในบรรทัดถัดไปถ้าในระหว่างการแปลเกิดพบข้อผิดพลาดที บรรทัดใดก็จะฟ้องให้ทำการแก้ไขทีละบรรทัดนั้นทันทีอินเตอร์พรีเตอร์นี้เมื่อโปรแกรมเสร็จแล​้วจะไม่สามารถเก็บเป็น เอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรม(Execute Program)ได้ซึ่งต่างกับคอมไพเลอร์ดังนั้นเมื่อจะเรียกใช้งานหรือรันโปรแกรมก็จะต้องทำการแปลหรือคอมไพล์โปรแกรมใหม่ทุกคร​ั้งไปดังนั้นเมื่อจะเรียกใช้งานเอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรมย่อมจะทำงานได้เร็วกว่าการเรียกใช้งานโปรแกรมที่ต้องผ่านการแปลด้วยอินเตอร์พรีเตอร์แต่ประโยชน์ของภาษาที่ถูกแปลด้วย อินเตอร์พรีเตอร์คือโปรแกรมจะมีโครงสร้างที่ง​่ายต่อการพัฒนาตัวอย่างของภาษาโปแกรมที่มีการใช้อินเตอร์พรีเตอร์ เป็นตัวแปลภาษาได้แก่ ภาษาเบสิก ภาษาเพร์ล เป็นต้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาชั้นสูงนั้นนอกจากจะให้ความสะดวกแก่ผู้เขียนเป็นอันมากแล้วผู้เขียน แทบจะไม่ต้องมี ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ก็สามารถเขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้นอกจากนี้ ยังมีข้อดีอีกอย่างคือสามารถนำโปรแกรมที่เขียนนี้ ไปใช้งานบนเครื่องใดก็ได้ คือมีลักษณะที่ไม่ขึ้นอยู่กับกับเครื่อง(Hardware Indepent)เพียงแต่ต้องทำการการแปลโปรแกรมใหม่เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามภาษาเครื่องที่ได้จาก การแปลภาษาชั้นสูงนี้อาจเยิ่นเย้อและไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเขียนด้วยภาษาเครื่องหรือแอสเซมบลีโดยตรง ภาษารุ่นที่3นี้ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาที่มีแบบแผน(Procedural language)เนื่องจากลักษณะการเขียนโปรแกรมจะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบกล่าวคืองานทุกอย่างผู้เขียนโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานเองทั้งหมดและต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นตอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง แบบฟอร์มกรอกข้อมูล การประมวลผล หรือการสร้างรายงานซึ่งโปรแกรมที่เขียนจะค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลา ในการพัฒนาค่อนข้างยาก

No comments: